” MCFIVA” : 6 Code ในงานสร้างสรรค์
การสร้างสรรค์นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ครับ โดยเฉพาะสำหรับวงการ Media โฆษณา บางคนอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องของพรสวรรค์ บางคนอาจคิดว่ามันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จากแรงบันดาลใจที่ไม่แน่นอน บางคนอาจมองว่ามันเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต บ้าระห่ำ หรือต้องใช้ญาณในการสร้างมันขึ้นมา
แต่ผมขอเสนอว่า จริงๆแล้วเราทุกคน ต่างสร้างสรรค์ชั้นยอดออกมาได้ทั้งนั้น งานสร้างสรรค์นั้นไม่ใช่กระบวนการที่เด็ดขาด แต่มันคือกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป และสิ่งเล็กๆของเราทุกๆคน
อย่างไรก็ตาม งานสร้างสรรค์ มันก็มีศาสตร์ของมันอยู่ครับ และเพราะมันเป็นศาสตร์ เราทุกคนจึงสามารถเรียนรู้มันได้ และสามารถใช้มันเป็น “ขั้นบันได” ในการไปให้ถึงผลงานที่มีคุณค่า และมีประสิทธิผล สูตรนั้นง่ายๆ ผมอยากจะให้ทุกคนจำไว้ คือ เราเรียกมันว่า MCFIVA Code ครับ
เรามาทำความรู้จักกับสูตรนี้กันเลย !!
รหัสที่ 1 ) M = Mood : อารมณ์+แรงขับ
มนุษย์เราเป็นสัตว์แห่งอารมณ์ครับ ในทางจิตวิทยา อารมณ์นั้นมีอิทธิพลต่อความคิดมากยิ่งกว่าเหตุผลหลายเท่านัก และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะสำหรับสิ่งมีชีวิตแล้ว อารมณ์นั้นมีวิวัฒนการมานานกว่าการเรียนรู้ด้วยเหตุผล , มนุษย์เราเริ่มต้นทุกสิ่งด้วยอารมณ์ มันคือความอยากของเรา มันคือพลังจากสิ่งเร้าที่อยู่ภายใน , ผมเชื่อว่าทุกคนก็คงจะรู้ดีครับ ว่าการไม่มีอารมณ์นั้น มันจะทำให้เราไม่สความปราถนาในงานใดๆเลย อารมณ์นั้นเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องทำให้มันเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่ง่ายซะทีเดียว ก่อนอื่น เราต้องแยกให้ออกครับ ระหว่าง อารมณ์ และแรงขับ อารมณ์คือ สภาวะของคนเราที่แปรปรวนตามสิ่งเร้ารอบกายครับ เช่น ดูหนังเศร้าแล้วเราก็เศร้า หรือเมื่อมีคนมาดูถูกคุณ คุณก็โกรธ เป็นต้น ในขณะที่แรงขับ คือสิ่งเร้าที่อยู่ในร่างกายครับ เช่น ความหิว แรงขับทางเพศ สภาวะป่วยไข้ เป็นต้น แต่สำหรับคนทั่วๆไป เรามักจะอนุโลมเรียอกทางสองอย่างนี้ว่าอารมณ์ (Mood) , ดังนั้นในการสร้างพื้นฐานของพลังในการสร้างสรรค์ เราจึงต้องบริหารสองสิ่งครับ คือสิ่งเร้าภายนอก และสิ่งเร้าภายใน I สิ่งเร้าภายนอก ทำได้ไม่ยากครับ นั่นก็คือการปล่อยวางจากเรื่องราวต่างๆรอบตัว และหันเหความสนใจจากความวุ่นวายที่ไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่องานสร้างสรรค์ โดยแต่ละคน แต่ละเวลานั้นไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะไปนั่งเงียบๆ บางคนอาจจะฟังเพลง บางคนอาจจะสูบบุหรี่ บางคนอาจจะคุยกับคนรัก ฯลฯ ,มีแต่เราเท่านั้นที่รู้ว่าจะทำอะไร ถึงจะไปต่อได้ ** แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ “เราต้องหักดิบจากสภาวะวุ่นวายออกมาให้ได้ครับ ” เพราะคนเรามักจะแพ้ก็ตรงจุดนี้ ไม่สามารถปล่อยวางจากความวุนวายนั้นได้ เสพติดการต่อสู้กับความวุ่นวายนั้น และสุดท้ายก็ไม่มีอารมร์จะสร้างสรรค์นั่นเอง II สิ่งเร้าภายใน สิ่งนี้เป็นเรื่องต้องใช้เวลาและต้องทำเป็นประจำครับ ตั้งแต่การพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย และสำหรับการสร้างสรรค์นั้น ต้องเพิ่มสิ่งนี้ครับ “การสะสมแรงบรรดาลใจ” , แรงบันดาลใจนั้นเริ่มหาได้ง่ายที่สุดก็คือ จากสิ่งที่เราชอบครับ คุณชอบศิลปะแบบไหน ชอบเพลงแนวไหน สไตล์ของแฟชั้นแบบไหน ชอบประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คุณก็เริ่มจากมันก่อน และเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณก็ต้องกล้าลองของใหม่ๆบ้าง เช่น หาหนังที่ไม่ได้ชอบ ฟังเพลงที่ไม่ใช่แนวเรา ลองแต่งตัวที่ม่ใช่แบบของเราดู เพราะว่ามันจะทำให้คุณได้พบวัตถุดิบใหม่ๆ และมันจะสร้างเส้นทางใหม่ๆในหัวของคุณ ก่อกำเนิดเป็นสิ่งเร้าภายในชนิดใหม่นั่นเอง เมื่อตัวเรามีอารมณ์ที่เหมาะสมแล้ว ผลงานที่เราทำก็จะสะท้อนอารมณ์ของเราออกมา มันจะสร้างความแตกต่างที่ลึกซึ้ง เมื่อเทียบกับงานที่ไม่มีอารมณ์ครับ
รหัสที่ 2 ) C = Clear : ความกระจ่างชัด
งานสร้างสรรค์ไม่ใช่เพียงจินตนาการ แต่มันต้องมีเป้าหมายที่เราต้องบรรลุครับ และสำหรับในการสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ ความกระจ่างชัด คือกลยุทธ์ที่ต้องชัดเจน อันรวมถึง วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย บุคคลิก โทน หรือของคือ brief ของงานนั่นเอง ความกระจ่างชัดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อทิศทางของผลงานที่ออกมา และมันจะอยู่แค่ในตัวอักษรของ brief งานไม่ได้ มันจะต้องอยู่ในความเข้าใจของเราครับ เราต้องใช้เวลาและให้ความสำคัญกับมันไปตลอดทาง อย่าหลุด เมื่อไหร่ที่สงสัยก็ต้องประชุมหรือปรึกษากับทีมในทันที พึงระลึกไว้เสมอครับ ว่าความชัดเจนของกลยุทธ์นั้น เป็นยานพาหนะจะพางานสร้างสรรค์ไปถึงจุดหมาย
รหัสที่ 3 ) F = Force : พลัง
“May the force be with you” โควตเด็ดจากหนังสตาร์วอร์สยังใช้ได้เสมอครับ , งานสร้าสรรค์ต้องไม่ใช่แค่ง่นทั่วไป แต่มันต้องมีพลังที่จะดึงดูดผู้คน ทำให้ผู้คนสะดุด ทำให้ผู้คนคลั่งใคล้บูชา , เื่อเรามีความชัดเจนในงานและในกลยุทธ์แล้ว เราก็ต้องลับคมให้กับงานของเราครับ เราต้องนึกเสมอว่างานของเราเป็นเหมือนดาบ เมื่อมันถูกขึ้นรูปมาด้วยเหล้กเนื้อดีแล้ว มันต้องมีคมดาบที่พิฆาตศัตรูได้ในดาบเดียว มันต้องส่องประกาย และน่าชื่นชม , งานสร้างสรรค์นั้นจะต้องโดดเด่น และต้องไม่ธรรมดาครับ มันจะไม่ใช่งานในแบบที่คนดูจะผ่านเลยไป แต่มันต้องมีอวงค์ประกอบที่ ว้าว เห็นแล้วทึ่ง และสิ่งนี้ก็คือพลังของงาน พลังของงาน หาได้จากไหน ผมขอตอบว่า “ จากความจริงจัง การใช้เวลา และหลักสถิติครับ ” I กำหนดตารางเวลางานให้เหมาะสม ให้มีเวลาสำหรับการคิดหาพลังของงานเยอะๆ II อย่าเพิ่งรีบตันสินใจหากองค์ประกอบยังไม่โดน รอสิ่งที่ดีที่สุด จนโยงยามสุดท้ายของตารางงานที่ตั้งไว้ III ในการหาองค์ประกอบงานแต่ละครั้ง ให้เอาไปให้ทีมโหวต อย่าเชื่อแต่มุมมองตัวเอง แต่จงเชื่อสถิติ และในที่สุด เราก็จะได้ง่านที่มีพลังมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ครับ
รหัสที่ 4) I = Intelligent : ความฉลาด
งานสร้างสรรค์นั้น ถ้ามันมีเพียงพลังอย่างเดียว มันอาจจะสะดุดตา เร้าอารมณ์ หรือให้ความคละคลุ้งในเชิงของตัณหาอะไรแบบนั้น แต่ถ้าจะให้ผลงานของเราสามารถอยู่กับกลุ่มเป้าหมายได้นานๆ มันต้องมีความฉลาดด้วยครับ นั่นก็คือมีสาระ ใช้ประโยชน์ได้ ไม่ได้หล่อ/สวยอย่างเดียว บางคนบอกว่า สิ่งนี้ต้องเริ่มมาจากโจทย์หรือกลยุทธ์ตั้งแต่เริ่ม มันก็ถูกครับ แต่เคล็ดลับนั้นมีอยู่ครับ นั่นคือเราสามารถสร้างความฉลาดใหม่ๆเสริมมันเข้าไปในภายหลังได้เสมอ โดยหาข้อดีจากผลงานที่เรามีอยู่แม้แค่เพียงน้อยนิดมันก็ตาม แต่เราสามารถทำให้มันฉลาดได้ โดยเอาด้านนั้นมาพูด เชื่อมโยงบางส่วนของมันเข้ากับประสบการณ์ต่างๆใส่ ปรัชญาเด็ดๆ หรือการประยุกต์ใช้ โดยใส่เข้าไปให้กลมกลืนกับผลงานที่เราทำออกมา
รหัสที่ 5) V = Variety : ความหลากหลาย
”ความสร้างสรรค์ คือ ความรู้ที่หลากลาย ดำเนินคู่ไปกับความถี่ของความคิด” ในความเป็นหนึ่งเดียวนั้น ผลงานนั้นต้องสามารถให้มุมมองที่หลากหลาย คุณค่าที่หลากหลาย และความรู้สึกที่หลากหลายได้ครับ , สิ่งนี้อาจจะฟังดูแปลก แต่อย่าลืมครับว่าผลงานสร้างสรรค์นั้นไม่ได้มีหน้าที่แค่สื่อสารสิ่งที่เราต้องการออกไป แต่มันต้องสามารถทำให้กลุ่มเป้าหม่ายค้นพบสิ่งที่เขาต้องการผ่านงานชิ้นนี้ , หาวิธีเปิดโอกาสผลงานของเรา ให้เขาได้ค้นพบความสุขภายในผ่านทั้งจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก , การสร้างความหลากหลายนั้น มันมีวิธีอยู่ครับ นั่นก็คือการวาดแผนผังความคิดที่เชื่อมโยงเป็นใยแมงมุม โดยมีขั้นตอนดังนี้ I นั่งนิ่งๆ พร้อมด้วยกระดาษเปล่าหนึ่งแผน และเขียนอะไรก็ได้ที่นึกออกให่้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความไร้สาระ หรือความไม่เชื่อมโยงกัน ไม่ต้องห่วงอะไรทั้งสิ้น เกี่ยวกับคอนเซปต์ของงานเรา เช่น เราจะสร้างผลงานเกี่ยวกับวาเลนไทน์ เราก็เขียนทุกสิ่งที่นึกออก เช่น กุหลาบ สีแดง ดอกกุหลาบ ความรัก ผู้ชาย ผู้หญิง เตียงนอน โรงแรม ฯลฯ II เมื่อเขียนเสร็จ ก็สร้างเส้นเชื่อมโยงกันระหว่างคำ โดยแต่ละคำอาจเชื่อมโยงได้หลายเส้น ไม่จำกัด และเราจะเห็นว่าจะมีกลุ่มคำบางคำที่ถูกเชื่อมโยงมากเป็นพิเศษ III นำคำที่ถูกเชื่อมโยงมากที่สุดมาเป็นแก่นของผลงานที่ต้องการสื่อ และคำอื่นๆที่ถูกเชื่อมโยงรองลงมาเป็นแบล็กกราวด์ที่จะเสริมผลงานเรา และที่สำคัญมันถูกสร้างม่าหลากหลาย
รหัสที่ 6) A = Action : การตอบสนองของกลุ่มเป้าหมาย
แน่นอนครับ ในที่สุดผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นที่อยากสร้างชื่อเสียงในโลก ล้วนต้องการสิ่งนี้ , การการสร้างสรรค์ผลงานใดๆก็ตาม สุดท้ายแล้วเราต้องวาดฝันถึงผลลัพธ์เมื่อมันโคจรไปพบกับกลุ่มเป้าหมาย , สิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับโชคชะตาหรอกนะครับ แต่มันเกี่ยวกับการวางแผนในทุกๆสิ่งที่ห้อมล้อมผลงานของเรา สถานที่ตั้ง จังหวะ เวลา ตัวงาน การโหมโรง และการสร้างความคาดหวัง ทุกอย่างทีผลต่อ Action ที่กลุ่มเป้าหมายเราจะตอบสนองทั้งสิ้น , การจะวางแผนกำหนด Action นั้นเราต้องเริ่มจากการวาง KPI (Key Performance Indicator) ให้กับมัน โดยการประเมินร่วมกับทีม มีการวางลิมิตสูงสุด-ต่ำสุดเอาไว้ จากนั้นก็วิเคราะห์ทีละองค์ประกอบ , และการจะรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้มันได้มากจากการวิจัยตลาด (Marketing Research) การวิจัยตลาดนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่มองข้ามไม่ได้ครับ ต้องใช้ความสำคัญกับมันหน่อย ถ้ามีงบเยอะก็อย่างกในด้านนี้ครับ หรือถ้างบน้อยหน่อย งานเล็กหน่อย ก็หาเวลารีเสริจ หรือซื้อรีเสริจที่เกี่ยวข้องมาได้ มีมากมายหลายเจ้าที่ทำครับ , และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ Action นั่นคือการโปรโมท อันได้แก่ความถี่ของการโปรโมท และกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม การบริหารงบนั้นสามารถจ้างจากผู้เชียวชาย เช่น Agency ที่มีแผนกด้านบริหาร ROI ให้ลูกค้าเป็นต้นครับ เป็นไงกันบ้างครับ กับ MCFIVA Code , 6 รหัส / 6 Stepsเพื่องานสร้างสรรค์ เราหวังว่าคุณผู้อ่านจะสามารถนำ 6 รหัสนี้ไปใช้ในงานสร้างสรรค์ของคุณได้ดีครับ ถ้าใครคิดว่ารหัสนี้มีประโยชนื อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนและคนที่คุณรักได้ประโยชน์ตามไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น