อาภิรัตน์ เกียรติไพบูลย์ : Yamaha จัดว่าเป็นแบรนด์หนึ่งที่ทำ Online Marketing ได้ประสบความสำเร็จ ด้วยเพจ Facebook ชื่อ Yamaha Apps Thailand ที่มีแฟนเพจมากกว่า 8 แสนคน (กุมภาพันธ์ 2557) และมียอดไลค์ต่อวันสูงนับหมื่น ยอดแชร์ต่อวันสูงถึงหลักพัน และคอมเม้นต์ต่อวันอีกหลายร้อยคอมเม้นต์ “ทุกๆวัน” , โดยการใช้เนื้อหา (Content) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Yamaha เองแท้ๆ ในการสร้างความน่าสนใจ และส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมายที่จริงแท้ ไม่ต้องไปหยิบยืมเนื้อหาจากที่อื่น หรือแชร์อะไรๆตามกระแส , “จิรายุทธ รุ่งศรีทอง”
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เพจ Yamaha Apps Thailand ประสบความสำเร็จได้มากขนาดนี้ ?
ในโลก facebook มีแบรนด์น้อยใหญ่ของบริษัทต่างๆก็ทำแฟนเพจของตัวเองเช่นกัน แต่ก็ไม่สามารถสร้างความผูกพันธ์หรือความภักดีต่อตัวผลิตภัฒน์จริงๆมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการ PR หรือการแจ้งข่าว ไม่ก็การชิงโชคชั่วครั้งชั่วคราว เพียงเพื่อสร้างยอด Fanpage ให้มากไว้เท่านั้น แต่ว่ายอดการ Engagement ต่อผลิตภัณฑ์ยังต่ำ กว่าคือพวกเขายังไม่ได้ใช้พลังที่แท้จริงของ Facebook และลืมหลักการเรื่อง “Content is King”
ใช้ความน่าสนใจที่สุดของแบรนด์ มาเป็นจุดดึงดูด
แม้ปัจจุบัน Yamaha Thailand จะมียอดขายส่วนใหญ่ยังอยู่ที่มอเตอร์ไซด์ขนาดเล็ก อย่างเช่น Fino หรือ Spark แต่ทว่าอีกด้านหนึ่ง Yamaha ก็มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดใจคนส่วนมากได้ นั่นก็คือรถที่เรียกกันว่า Bigbike ที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรมในระดับโลก เช่น Yamaha YZF R1 รถ Sport Racing ยอดนิยม มี Yamaha Bolt รถแนวคลาสสิค โมเดิร์น และก็ยังมี Yamaha M1 รถมอเตอร์ไซค์แข่ง Moto GP (เปรียบกับ Fomula One ของวงการรถ4ล้อ) ที่ราคา 30-40 ล้าน พร้อมทั้งแชมป์ 6 สมัยอย่าง Valentino Rossi ผู้โด่งดังที่สังกัดทีม Yamaha
Yamaha นั้นได้ใช้จุดเด่นของแบรนด์เหล่านี้มาดึงแบรนด์ทั้งแบรนด์ขึ้นไปได้อย่างน่าสนใจ , และยังเป็นการปลูกฝังแบรนด์ Yamaha เข้าไปในใจของกลุ่มเป้าหมาย (สร้างรถในฝัน) สิ่งนี้ในหลักการสร้างแบรนด์ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดี ตามหลักวิชาแล้ว หากแบรนด์มีผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มี มีนวัตกรรมชั้นสูงที่ซับซ้อนมาก่อน แบรนด์นั้นจะสามารถทำการตลาดต่อผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนน้อยลงได้ดีกว่า สมมุติเช่น ถ้าหากโบอิ้ง(Boeing) ที่สร้างเครื่องบินมาก่อน หันมาmeตลาดรถยนตร์บ้าง ในเรื่องของแบรนด์แล้ว ก็ถือว่าเป็นไปได้ดี เพราะเราคงสนใจในรถยนต์ที่ใช้นวัตกรรมของเครื่องบิน (นวัตกรรมสูงกว่า ซับซ้อนกว่า) ต่างกับเอาแบรนด์ที่ใช้นวัตกรรมที่ต่ำกว่า ไปสร้างสิ่งที่ซับซ้อนกว่า เช่น หาก AP Honda จะผลิตเครื่องบิน ความเชื่อมั่น ความไว้ไจก็คงจะไม่เท่า โบอิ้ง ทั้งๆที่อาจจะมีนวัตกรรมที่เหนือกว่าก็เป็นไปได้
ใช้อารมณ์ (Emotional) ในการสร้างแบรนด์
Bigbike อาจจะดูเหมือนเป็นผลิตภัฒน์ด้านการใช้งาน (Functional ) ที่เป็นเครื่องจักร ที่ไว้ขับขี่ แต่หากเจาะลึกลงไปจริงๆ จะพบว่า Bigbike เป็นผลิตภัณฑ์ด้านอารมณ์ (Emotional) , กล่าวคือมอเตอร์ไซค์แบบนี้เป็นการใช้งานตอบสนองด้านจิตใจ ไม่ว่าจะความรู้สึก ความภาคภูมิ ความมีสไตล์ ความมันส์ เพราะมันไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ที่ใช้งาน หรือเป็นแค่ยานพาหนะที่ใช้เดินทางเท่านั้น ดังนั้นในการสื่อสารของแบรนด์ Yamaha จึงเน้นไปที่การสื่อสารทางอารมณ์ เช่นการใช้ Copy ที่มีความหมายทางความรู้สึกนั่นเอง , และปัจจุบันนี้การใช้ความหมายทางความรู้สึก ก็กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆครับ
ที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่า การสร้างแบรนด์ให้เกิดนั้น ไม่ว่าจะด้วยช่องทางใดๆ ก็ตาม เราจะต้องนำเอา Content ของแบรนด์ หรือชัดๆก็คือของผลิตภัณฑ์ทำให้เป็นที่น่าสนใจให้ได้ อย่าทำเพียงแค่ชัดโปรโมชั่น ลุ้น แจก อย่างเดียวครับ ,ถ้าเปรียบก็คือ คำว่า“แบรนด์” คือองคาพยพที่โอบอุ้มทุกอย่างเอาไว้ ไม่ว่าจะผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการขาย หรือช่องทางการจัดจำหน่าย ฯลฯ แต่หัวใจจริงๆก็คือเรื่องของผลิตภัณฑ์นั่นเองครับ
โดย อาภิรัตน์ เกียรติไพบูลย์
www.facebook.com/YamahaApps
cr. Toonthum
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น