วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระตรีมูรติ เทพเจ้าแห่งความรัก ความสามัคคี


        พระตรีมูรติ หรือ เทพทัตตาเตรยะ ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาพราหมณ์ เป็นการรวมกันของมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ถึง 3 พระองค์เข้าด้วยกัน ซึ่งก็คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ที่ถือว่าเป็น ผู้สร้าง ผู้รักษา และผู้ทำลาย การรวมอานุภาพของมหาเทพ 3 พระองค์ไว้ในองค์เดียวกัน ผู้บูชาย่อมบังเกิดความเป็นสิริมงคล และความสมบูรณ์ พูนสุขในชีวิต ดุจดังพลานุภาพของเทพทั้งสาม ทั้งนี้คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหากบูชาพระตรีมูรติ” จะมีความหมายที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งชีวิต ความรัก และการงาน รูปเคารพพระตรีมูรติ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 

    การสักการะบูชา 
        1. ดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก / พวงมาลัยดอกกุหลาบ 1 พวง ( เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นสัญลักษณ์ของโลกียะ ความเป็นมงคลและพลังชีวิต )
        2. ธูปสีแดง 9 ดอก 
        3. เทียนสีแดง 1 เล่ม ( คนโสด ) เทียน 1 คู่ ( สำหรับคนที่มีคู่อยู่แล้ว และจะถือเคล็ดด้วยการต้องประกบให้เทียนทั้ง 2 เล่ม แนบชิดกัน เพื่อความแนบแน่นในชีวิตรัก / แต่หากใครยังไม่มีคู่ อาจสื่อความหมายไปที่ว่า เพื่อไม่ให้ชีวิตรักโดดเดี่ยว มีคู่โดยเร็วไว )
        4. ผลไม้ 
        5. ทุกวันพฤหัสฯ ช่วงเช้า 9.30 น. และอีกครั้งในช่วงกลางคืน 21.30 น. 

      บทสวดขอพรพระตรีมูรติ         สาธุ สาธุ สาธุ อุกาสะ ข้าแต่องค์พระตรีมูรติที่ยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้า นาย,นาง............ ( บอกชื่อ นามสกุลและที่อยู่ ) กราบเบื้องบาทแด่องค์ท่านแล้ว พระองค์เคยประทานพรแด่ทวยเทพทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้ามากราบเบื้องบาทแด่พระองค์ท่านแล้ว จึงขอพรจากพระองค์ซึ่งประทานไว้ ณ. บัดนี้ (.....ขอพร....) 

        เตสัง อัมหากัง พรใดอันประเสริฐจงมาบังเกิดแด่ข้าพเจ้า ตุมหากัง และจงบังเกิดแด่ผู้คุ้มครองข้าพเจ้า ทีฆายุกา มหาเดชา มหาปัญญา มหาโภคา มหายะสา มหาลาภา ปัญจวีสติ ภยันตะ ทวัตติงสะ ฉันนะวุฒิติโรคัญจะ โสระสะ อุบัติอันตรายยัญจะ อัยยัญติกะ อันตรายยัญจะ พาหิระ อันตรายยัญจะ วิระหิตะวา โหตุ ยาวะชีวัง พระวิสตีติ (พระตรีมูรติ)

        ขอ....ให้ความรักที่เกิดขึ้นมานั้นอยู่ตลอดกาล... ขอ...ให้ความรักที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นรักนิรันดร์

      1. หากคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล ก็จะต้องถวายเครื่องบรรณาการ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณที่ท่านได้ให้ความกรุณาช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งที่นิยมนำมาถวายก็มี น้ำอ้อย, มะพร้าว, นมสด, ของหวานต่าง ๆ และสิ่งที่สำคัญจะต้องไม่ใช้อาหารคาวโดยเด็ดขาด 

      2. เวลาที่อธิษฐานขอในสิ่งที่ปรารถนาจะต้องตั้งจิตอธิษฐานเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น 

      3. การอธิษฐานขอพรนั้น สามารถที่จะขอในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยนอกจากความรัก อาทิ งาน, เงิน, และอื่น ๆ 

      4. ควรเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการขอพรใส่ในกระดาษให้ละเอียดเรียบร้อย ซึ่งจะต้องระบุรายละเอียดว่าคุณชื่ออะไร นามสกุลอะไร อยู่ที่ไหน และ คู่ของคุณคือใคร ชื่ออะไร นามสกุลอะไร พักอยู่ที่ไหน และวันนี้คุณมีความประสงค์ที่จะขออะไรจ้องบอกกล่าวให้ชัดเจน 

      5. ควรขอพรแต่ในเรื่องที่ดีที่งาม และถูกต้องตามทำนองครองธรรม 


พระแม่อุมาเทวี


       พระแม่อุมาเทวี หรือ พระแม่ปารวตี คือ พระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุกในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข รูปเคารพของพระแม่อุมาเทวี อยู่บริเวณด้านหน้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาราชดำริ ก่อตั้งเมื่อปี 2554 โดยเครื่องสักการะควรเป็นขนมที่มีรสชาติมัน ปราศจากเนื้อสัตว์ และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป ตลอดจนผลไม้และธัญพืชทุกชนิด

                 ธูป 10 ดอก พวงมาลับ มะลิ ,ดาวเรืองกุหลาบแดง ยกเว้น (ห้าม) ดอกบัว 

พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่ง มั่งมี และโชคลาภ


พระแม่ลักษมีทรงเป็นชายาของพระนารายณ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทวีแห่งความงดงาม และเป็นดั่งเทพผู้บันดาลโชคลาภ ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา รูปเคารพของพระนางสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2539ณ บริเวณดาดฟ้า ชั้นสี่ ศูนย์การค้าเกษร เครื่องสักการะบูชา คือ ดอกบัวบานสีชมพูเข้ม เหรียญหรือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์แสดงความ มั่งคั่ง และอ้อยหรือน้ำอ้อย

จุดหมายคือขอพรจากคุณสมบัติที่พระนางลักษมี มีคือ ความดีงาม ความมั่งคั่งร่ำรวย ศิริโฉมงดงาม ในการไหว้ขอพร ใช้ธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่ และ ดอกบัว 3 ดอก ถ้าจะมากราบไหว้ขอพรจากพระนางลักษมี นั้นต้องนำมาเองเนื่องจากทางห้างไม่ได้จัดจำหน่าย พระนางลักษมี ประดิษฐานอยู่ที่บนชั้น 4 บริเวณดาดฟ้าของห้าง “เกษรพลาซ่า”

Cr.ken shinbi & feng_shui  & DJ.คิว

พระนารายณ์ทรงสุบรรณ” หรือ “ทรงครุฑ”

             


        พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็น 1 ใน 3 มหาเทพ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลก โดยรูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่หน้าโรงแรมอินเตอร์ คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ผู้ที่เข้ามาสักการะส่วนใหญ่จะมาเพื่อ ขอพรด้านให้ธุรกิจการค้าของตนเองเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงเปรียบประดุจดั่งเทพเจ้าแห่งความเมตตา พระอำนาจของพระองค์สามารถขจัดปัดเป่าความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดี และช่วยปกป้องจากภยันตรายทั้งปวง เครื่องสักการะองค์พระนารายณ์ ได้แก่ พวงมาลัยดอกดาวเรือง ผ้าไทย และขนมไทย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด

อำนาจของพระองค์สามารถช่วยขจัดปัดเป่าความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดี รักษาธุรกิจให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และปกป้องผู้ที่บูชา เชื่อว่าผู้ใดที่บูชาแล้วจะได้รับความคุ้มครอง และมีโชคลาภ แต่จะต้องเป็นผู้ที่รักษาสัจจะ รักษาศีล รวมทั้งเจริญภาวนาเป็นที่ตั้ง ในการไปกราบไหว้สักการะใช้ธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่ ดอกดาวเรือง 1 พวง

Cr.ken shinbi & feng_shui  & DJ.คิว

ท้าวอัมรินทราธิราช ราชาผู้ครองสวรรค์

         

         ท้าวอัมรินทราธิราชเป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่ผู้ดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลก มีหน้าที่ปกป้องดูแลโลกให้พ้นจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ ผู้ใดที่เคารพบูชาท่านจะทำให้สามารถรู้ข้อบกพร่องของตัวเอง ทำให้สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ถูกต้อง รูปเคารพองค์อัมรินทราธิราชที่มีพระวรกายสีเขียวหยกเข้ม มีพระเนตรพันดวงนี้ประดิษฐานอยู่หน้าศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า โดยมีเครื่องสักการะคือ พวงมาลัยดอกดาวเรือง และตุ๊กตาช้าง
ความเชื่อในอำนาจของพระอินทร์จะช่วยปัดเป่าความชั่วร้าย หรือสิ่งเลวร้าย พร้อมทั้งปกป้องรักษาธุรกิจให้เจริญรุ่งเรือง รวมถึงคุ้มครองผู้บูชา ในการสักการะ ธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่ ดอกดาวเรือง 1 พวง

Cr.ken shinbi & feng_shui  & DJ.คิว

ท้าวมหาพรหม ผู้ลิขิตชีวิตสรรพชีวิตทั้งหลาย

      
          ท้าวมหาพรหมทรงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม พระพรหมเอราวัณ” ศาลท่านท้าวมหาพรหมเป็นที่นิยมบูชาและเป็นที่นับถือมากที่สุดในย่านราชประสงค์ มีผู้เข้ามาสักการะขอพรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลายล้านคนต่อปี ศาลท่านท้าวมหาพรหม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2501 ในช่วงการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ หรือโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ในปัจจุบัน ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู พระพรหมเป็นผู้สร้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพสูงสุด พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในเรื่องทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา และทรงรับฟังคำขอ คำสวดภาวนาของทุกคน และทรงทำให้ผู้สักการะที่มีจิตใจศรัทธาสมความปรารถนา หากผู้ใดต้องการมากราบไหว้ให้เตรียม ดอกมะลิ หรือดอกดาวเรือง ขนมหวานรสอ่อน ผลไม้ หรือธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง มาเพื่อสักการะขอพรจะยิ่งเป็นมงคลแก่ตัว
             
การสักการะองค์พระพรหมเริ่มจากพักตร์แรกและเวียนขวามือของเรา ซ้ายมือของท่าน จนไปถึงหน้าสุดท้าย การขอพรทุกพักตร์จะมีความหมายต่างกัน
พักตร์แรก ใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด สำหรับความหมายพักตร์แรกให้ขอเกี่ยวกับเรื่องการงาน การเรียน สิ่งที่ต้องรับผิดชอบในชีวิต การสอบ ขอเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งงานและความก้าวหน้าในชีวิต ขอเกี่ยวกับเรื่องพ่อ
พักตร์ที่สอง ใช้ธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สองขอเกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ อยากมีหรืออยากได้ให้ขอหน้านี้ รวมทั้งหนี้สิน ที่มีคนยืมไปแล้วไม่คืน
พักตร์ที่สาม ใช้ธูป 39 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สามให้ขอเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ คู่ชีวิต ครอบครัว ญาติพี่น้อง เรื่องเกี่ยวกับแม่ คู่สัญญา หุ้นส่วน ความมั่นคงของชีวิต
พักตร์ที่สี่ ใช้ธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สี่ขอเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ สิ่งที่ได้มาโดยบังเอิญ การขอกู้ยืมเงิน ขอออเดอร์สินค้า เรื่องของบุตร ใครยังไม่มีบุตรให้มาขอได้ ประสบผลสำเร็จ
รวมธูปที่ต้องใช้ทั้งสิ้น   110 ดอก
เทียนทั้งสิ้น       36  เล่ม
ดอกบัวทั้งสิ้น    36 ดอก
น้ำเปล่า     4  ขวด


Cr.ken shinbi & feng_shui  & DJ.คิว

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระพิฆเนศ เทพแห่งความสมหวังความสำเร็จ


พระพิฆเนศ ทรงมีพระเศียรเป็นช้าง พระกายอ้วนกลม งาหักข้างหนึ่ง ฉลองพระองค์สีเหลือง
มักตกแต่งพระองค์อย่างงดงามด้วยเครื่องประดับ แต่จะฉลองพระองค์อย่างนักบวชในพิธีกรรมทางศาสนา
พระพิฆเนศเป็นมหาเทพที่โกรธง่าย และก็ให้อภัยง่าย พระองค์ชอบเสด็จโดยลำพัง ไม่ชอบเสียงอึกทึก ชอบ
งานศิลปะ ดนตรี ถ้าเป็นงานสังสรรค์ก็จะต้องถูกจัดเตรียมไว้อย่างประณีตบรรจง 





พระพิฆเนศ เป็นโอรสของพระศิวะและพระแม่อุมา พระพิฆเนศเป็นเทพแห่งความสำเร็จ เทพแห่งการเริ่มต้น ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข สำหรับผู้บูชาที่มีความเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค พระพิฆเนศจะทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก พระพิฆเนศหากปรากฏพระองค์ร่วมกับพระแม่ลักษมี เรียกว่า "ลักษมีคณปติ" ผู้ที่บูชาพระพิฆเนศร่วมกับพระแม่ลักษมีและพระแม่เจ้าสุรัสวดี จะเกิดผลสมความปรารถนา แต่จะเร็วหรือช้าก็อยู่ที่ผู้ปฏิบัติด้วย


พระหัตถ์ ถือสิ่งของต่างๆ ได้แก่
-ขอสับช้าง พระองค์ทรงใช้เพื่อควบคุมและทำลายสิ่งชั่วร้าย
-บ่วงบาศ พระองค์จะทำการผูกร้อยกิเลสตัณหาต่างๆ
-งาที่หัก พระองค์ใช้เป็นเครื่องมือในการจารึกสรรพสิ่งต่างๆ เช่น ชะตากรรม เป็นต้น
-ก้อนขนมหรือถ้วยขนม หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์


พาหนะ / สัตว์มงคล
คือหนู จัดถวายพระองค์ท่านหลายๆแบบได้ เพราะเป็นพาหนะของพระองค์ท่านด้วย ดังนั้นถ้าบ้านใดบูชาพระพิฆเนศบ้านนั้นมักจะมีหนู (ตามตำนาน)


อาสนะ
โต๊ะหรือแท่นที่จะตั้งวางเทวรูปและที่บูชา ควรปูด้วยผ้าแดงหรือเหลือง หากตั้งเทวรูปบนโต๊ะหมู่บูชา จะไม่ใช้โต๊ะหมู่ลายทองหรือโต๊ะสีดำ หากตั้งเทวรูปพระองค์ท่านในเทวาลัยควรตกแต่งด้วยสีอ่อน ไม่ใช้สีดำ สีแดงและสีขาว


ดอกไม้
ชอบดอกกุหลาบแดงร้อยเป็นพวงมาลัย ดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกมะลิ


ธูป / กำยาน
กลิ่นกุหลาบ กลิ่นดอกบัว กลิ่นไม้จันทร์ กลิ่นมะลิ กลิ่นโมก กลิ่นกฤษณา


จำนวนธูปที่ใช้จุด
-ถ้าทูลขอเรื่องสำคัญและเร่งด่วน ใช้ธูป ३९ดอก
-ถ้าบูชาโดยปกติ ใช้ธูป 16ดอก
-ถ้าต้องการรังสีจากพระองค์ท่านเพื่อให้บรรลุความสำเร็จใช้ธูป 8ดอก


น้ำมันหอมระเหย
กลิ่นดอกมะลิ กลิ่นไม้จันทร์ กลิ่นโหระพา ควรมีใบโหระพาทั้งกิ่งวางบนพานถวายด้วย


เครื่องสังเวย
ควรมีปริมาณมากๆหน่อย ถ้ามีหลายชนิดด้วยก็จะยิ่งดี ขนมและผลไม้ที่มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสมัน ไม่หวานจัดและไม่เปรี้ยว สีสันสวยงาม ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า ถั่ว อ้อย นม เนย มะพร้าวอ่อน เป็นต้น




พระองค์เป็นเทพที่มีผู้นับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แม้แต่จอมจักรพรรดิกุบไลข่าน ยังทรงนำพระพิฆเนศมาเป็นเทพเจ้าแห่งความสมบูรณ์ของอาณาจักร ทรงถวายพระนามว่า "มหารักตะคณปติ"
พระพิฆเนศทรงมีปรีชาญาณเฉลียวฉลาด มีฤทธานุภาพมาก และทรงคุณธรรม ทรงปราบภัยพาล อภิบาลคนดี อีกทั้งยังเป็นเทพผู้กตัญญู สมควรแก่การสักการะบูชาเป็นอย่างยิ่ง หากใครจะประกอบพิธีหรือกิจกรรมใด การเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เช่น เปิดร้านค้า เข้าทำงานใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ ออกเดินทาง หรือแม้กระทั่งการบวงสรวงทำพิธีมงคลต่างๆ ต้องบอกกล่าวบูชา องค์พระพิฆเนศก่อน เป็นลำดับแรก จึงจะเป็นสิริมงคล และประสบความสำเร็จ


ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า

พระพิฆเนศเป็นโอรสของพระศิวะ กับพระศรีมหาอุมาเทวี ถูกยกย่องให้เป็นผู้เขียนคัมภีร์มหาภารตะจากวาจาของพระฤษีวยาส และนับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการรจนาหนังสือ ดุจเดียวกับพระสุรัสวดี
พระพิฆเนศมีกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "คชานนท์" มีงาข้างเดียว อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย หูยาน พระวรกายสีแดง สีขาว สีเหลือง ฯลฯ นุ่งห่มภูษาแดง มี 4 กร ถือบ่วงบาศ ขอสับช้าง และมีเทพศาสตราวุธอีกหลายชนิด ซึ่งได้ประทานจากพระศิวะ มีพาหนะบริวารคือหนู
ชนพื้นเมืองของอินเดียนอกจากจะมีลัทธิการบูชาสัตว์หรือลัทธิแห่งชัยชนะเหนือธรรมชาติแล้ว ยังเชื่อว่าหนูเป็นสัญญลักษณ์ของความมืด พระพิฆเนศทรงขี่หนู จึงหมายถึงชัยชนะของแสงอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หมดสิ้นไปเป็นเทพเจ้าผู้ทรงขจัดอุปสรรคทั้งปวง เป็นเทพเจ้าแห่งความรอบรู้ ความฉลาด เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ เป็นเทพประจำเรือน เป็นเทพผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ เป็นเทพผู้คุ้มครองป้องกันจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง หรือจะกล่าวได้ว่าเป็นเทพแห่งจักวาลก็ว่าได้


วิธีบูชาพระพิฆเนศ

เริ่มต้นครั้งแรกควรเริ่มบูชาในวันพฤหัสบดี วันต่อไปให้สักการะตามปกติ จะเป็นฤกษ์ยามใดถือเป็นมงคลทั้งสิ้น ของที่ใช้ในการสักการะบูชาได้แก่ น้ำสะอาด นมหวาน หรือน้ำแดง แต่ถ้ามีเครื่องสังเวยควรใช้ผลไม้และขนมต่างๆ เช่น อ้อย กล้วยสุก มะพร้าว และควรถวายก่อนพระอาทิตย์ตกดิน อาจเลือกวันขึ้น-หรือแรม 4 ค่ำ ก็ได้ ถ้าบูชาได้ทุกวันยิ่งดี

ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ

1.จุดเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน ธูป กำยาน
2.กล่าวคำบูชาพระพิฆเนศ แล้วจึงตามด้วยการสวดบูชาเทพพระองค์อื่น
3.ถวายเครื่องบูชาสักการะ กล่าวคำถวาย และอันเชิญมารับเครื่องถวาย
4.สวดมนต์ ทำสมาธิ
5.ถวายไฟ ใช้เทียน หรือสำลีชุบน้ำมันเนย ใช้ฝ่ามืออังไฟแล้วนำมาแตะที่หน้าผากเพื่อให้เกิดความสว่างแก่ดวงปัญญาและชีวิต จากนั้นแผ่เมตตา เป็นอันเสร็จพิธี

คาถาสวดบูชาพระพิฆเนศ

1.) โอม ศรีคเณศายะ นะมะฮา (9จบ) จากนั้นให้กล่าวอธิษฐานคำขอพรเป็นภาษาไทย
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นบูชา ควรใช้มนต์บทนี้ ซึ่งสั้น กระชับและจำง่าย
2.) โอม ศรี มหาคณะปัตตะเย นมัช
3.) โอม คัม คณะปัตตะเย นมัช
4.) โอม ศรี วินายะกายะ นมัช
5.) โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโท พิฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทามิ สัพพะทา สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม (ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย)

พิธีกรรมสำคัญในการบูชาพระพิฆเนศ

"วันคเนศจตุรถี" ของโปรดของพระพิฆเนศคือ ขนมต้มขาว ขนมหม้อแกง ผู้บูชาพระพิฆเนศควรมีขนมทั้งสองประเภทนี้คล้ายกับการบูชาตามพิธีไหว้ครูของไทย ประกอบด้วยหญ้าแพรกซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ตามตำราเดิมจากอินเดีย เพราะอินเดียนั้นใช้หญ้าแพรกบูชาพระพิฆเนศ และเชื่อว่าหญ้าแพรกสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายในความฝันได้ การบูชาพระพิฆเนศ จะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ คือ ใบไม้และดอกไม้ ๒๑ชนิดพิธีสำคัญนี้เรียกว่า "พิธีคเนศจตุรถี" หรือ "พิธีอุทิศต่อพระพิฆเนศ"




ขอขอบคุณที่มาจาก  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ



ความเชื่อเกี่ยวกับศาลพระภูมิ


พระภูมิ - เจ้าที่  ความเชื่อ ความศรัทธา ความรู้สึก คนไทยมีความเชื่อว่า "พระภูมิ" หรือ "ภูมิเทวดา" มี หน้าที่รักษาอาณาเขตที่ดิน ที่เจ้าของได้อัญเชิญมาสิงสถิตบนศาลพระภูมิ เพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าของบ้านและบริวาร ให้อยู่เย็นเป็นสุขมีความเจริญ รุ่งเรือง ควันธูปเทียนลอยอบอวล เหนือเรือนไม้ทรงไทยหลังเล็กบนเสาเดี่ยว ดูกลางเก่ากลางใหม่ จำลองย่อขนาดจากเรือนไทยจริง รอยแป้งเจิมไว้สามจุด คล้ายอักขระมนต์คาถาที่หน้าบัน ดูเลือนราง ร่องรอยทอง เปลวมีอยู่ทั่วเรือนเล็กหลังนี้ พวงมาลัยใหม่หลายพวง โชยกลิ่นหอมมะลิอ่อน ๆ ในบริเวณใกล้เคียง อีกพวงมาลัยเก่าที่ร่วงโรย ไปตามกาลเวลากลับสู่ธรรมชาติที่มันมา...สู่ดิน พวงมาลัยพลาสติกหลากสี "เจ็ดสีเจ็ดศอก" สะท้อนความเชื่อและความศรัทธา ของผู้มาเซ่นไหว้ เคารพศาลพระภูมิแห่งนี้ ระโยงระยางรอบ ๆ เรือนไม้ แต่งแต้มสีสัน ดูขัดกับเนื้อไม้และพรรณไม้ ที่ขึ้นข้างเคียง ตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์รูปผู้ชายในชุดไทยทั้งสีฟ้า แดง เหลือง นั่งเรียงรายทางหน้าประตูเรือนไทย ใกล้กับตุ๊กตา คู่ละครรำทั้งใหม่เก่าหลายคู่ ที่ยืนกระจัดกระจายอยู่ เมื่อมองเข้าไปภายในเรือนไม้ แผ่นไม้รูปดอกบัวปักบนฐาน ปรากฎภาพวาดเทวดา ในหัตถ์ซ้ายถือถุงเงิน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ ภาพศาลพระภูมิ ที่เราพบเห็นอยู่ทุกวี่ทุกวัน มีหลายแบบหลากสีสัน ทั้งรูปทรงเรือนไทย ปราสาท มณฑป โบสถ์ วิหาร ปรางค์ ซึ่งจำลองจากสถาปัตยกรรมของจริง ย่อส่วนมาตั้งไว้บนเสาเดี่ยว อาจลดทอนรายละเอียดบางส่วนไปบ้าง แต่ยังคงลัษณะเด่นให้เห็นชัด ศาลพระภูมิบางหลัง อาจมีการตกแต่งในส่วนรายละเอียด มากกว่าสถาปัตยกรรมจริง ไม่ว่าจะเป็นการนำกระจกสีมาประดับ การลงสี การแกะสลักลวดลายบนไม้ หรือลายปูนปั้น เพื่อเพิ่มความแวววาวและสีสันบนตัวศาล
            คนไทยมีความเชื่อว่า "พระภูมิ" หรือ "ภูมิเทวดา" ที่มีหน้าที่รักษาอาณาเขตที่ดิน ที่เจ้าของได้อัญเชิญมาสิงสถิตบนศาลที่ได้ จัดสร้างไว้   ภูมิเทวดาองค์ใดจะอยู่ประจำ ณ ที่แห่งใด  เจ้ากรุงพาลีผู้เป็นใหญ่ในชั้นจตุโลกบาล จะเป็นผู้กำหนดให้  เราอาจสงสัยว่า "พระภูมิ" คือใคร?  มีตำนานเล่าถึงพระภูมิว่า   ในอดีตมีกษัตริย์ พระนามว่า ท้าวทศราช ครองกรุงพาลี มีพระโอรส ๙ พระองค์ ล้วนแต่ปรีชาสามารถ ท้าวทศราชได้ส่งพระโอรสไปรักษาถิ่นต่าง ๆ เป็นต้นว่าเคหะสถาน ทวารเมือง ป้อมค่าย บันได คอกสัตว์ ยุ้งฉางข้าว เรือนหอบ่าวสาว ไร่นา ป่าเขา ปูชนียสถาน ห้วยหนอง คลอง บึง แม่น้ำ ส่วนโอรส หรือพระภูมิเจ้าที่ ที่อยู่ประจำเคหะสถาน มีนามว่า "พระชัยมงคล" พระภูมิ มีคนรับใช้อีก ๓ คน เป็นชาย คือ นายจันทิศ นายจันถี และจ่าสพพระเชิงเรือน คอยรับใช้อยู่หน้าศาล ส่วนทางชาดกในพระพุทธศาสนาได้เล่าเกี่ยวกับพระภูมิว่า ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงบำเพ็๋ญฌาณอยู่ใต้ต้นไทร ปรากฏว่า พระภูมินามว่า พระเจ้ากรุงพาลีไม่พอใจ ได้แสดงอภินิหารขับไล่พระโพธิสัตว์พระพุทธองค์ทรงทราบ ด้วยญาณถึงเรื่องภายหน้า จึงทรงขอพื้นที่ดินจากพระเจ้ากรุงพาลีเพียง ๓ ก้าว เพื่อบำเพ็ญฌาณต่อไป พระเจ้ากรุงพาลีเห็นว่า เป็นที่ดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงอนุญาต แต่พระโพธิสัตว์ทรงมีบุญญาอภินิหาร ดังนั้นเมื่อทรงย่างก้าวเพียง ๒ ก้าว ก็พ้นเขตพื้นแผ่นดินของพระเจ้ากรุงพาลี พระเจ้ากรุงพาลีจึงไม่มีที่ดินอยู่ ต้องออกไปอยู่นอกป่าหิมพานต์ ไม่สุขสบาย เช่นที่อาศัยของตน จึงกลับมาทูลขอพื้นที่ดินจากพระโพธิสัตว์ พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งด้วยญาณว่า พระเจ้ากรุงพาลีจะทำหน้าที่เป็นพระภูมิที่ดี คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกทั่วไปในภายภาคหน้า จึงทรงคืนที่ดินให้กับพระเจ้ากรุงพาลี และทรงขอให้ตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกต่อไป ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาหรือทางพระนั้น พระภูมิเป็น "โอปปาติกะ" คือ เป็นผู้ที่เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรมได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต และอสูรกาย ในพระพุทธศาสนาจึงยอมรับการมีของเทวดา เพราะเทวดาก็เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยเงื่อนไขของธรรมชาติ สำหรับคนไทยในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเร้นลับ และไสยศาสตร์ คงเป็นสิ่งที่ผูกพันในชีวิตเราแทบทุกคน ศาลพระภูมิ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ใกล้ตัว อันแสดงถึงความเชื่อและความศรัทธา ที่คนไทยมีต่อสิ่งนี้ ฉะนั้นในการประกอบพิธีกรรม เกี่ยวกับสิ่งนี้จึงต้องมีการกระทำกันอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่ผู้อยู่อาศัย การเซ่นสังเวยและการตั้งศาลพระภูมิ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาแต่โบราณ โดยจะกระทำเมื่อปลูกบ้านใหม่หรือย้ายที่อยู่ เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการตั้งศาลจะเป็นการ ขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ออกไปจากบ้าน แล้วจึงอัญเชิญพระภูมิ มาสิงสถิตเพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าของบ้านและบริวารให้ อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองมีโชคลาภ และถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของบ้าน
           พิธีการตั้งศาลนั้น โดยทั่วไปเจ้าของบ้านจะปรึกษา ผู้รู้ หรือ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี มาประกอบพิธีให้ เริ่มจากการตรวจดูฤกษ์ยาม ซึ่งเข้ากับวันเดือนปีเกิดของเจ้าของบ้าน เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข
ฤกษ์ที่นิยมคือ  
           ภูมิปาโลฤกษ์  หรือฤกษ์ผู้รักษาแผ่นดินเป็นฤกษ์ของพระภูมิโดยเฉพาะ
           เทวีฤกษ์  หรือฤกษ์ของนักธุรกิจ ร้านเสริมสวย
           มหัทธโนฤกษ์  หรือฤกษ์มหาเศรษฐี สำหรับเจ้าบ้านที่เป็นพ่อค้า
           ราชาฤกษ์ หรือฤกษ์ผู้ยิ่งใหญ่สูงส่ง
            ฤกษ์มงคลทั่ว ๆ ไป 
ส่วนฤกษ์ที่ห้ามยกศาลโดยเด็ดขาด คือ.
           ฤกษ์คนจน จะทำให้ตกต่ำไม่เจริญก้าวหน้า
           ฤกษ์โจร จะถูกโจรผู้ร้ายเบียดเบียน
           ฤกษ์นักการเมือง จะถูกโยกย้ายบ่อย อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง
           ฤกษ์พระสงฆ์ ไม่เหมาะกับชาวบ้านให้งดเว้น เพราะถือเป็นฤกษ์ขัดลาภ
ถ้าเป็นวันดีตามโบราณจะเป็นวันที่ตรงกับ ข้างขึ้นหรือข้างแรม  ๒, ๔, ๖, ๙, ๑๑ ค่ำ ส่วนวันเดือนที่ห้ามยกศาลมีวันพฤหัสบดี วันเสาร์  เดือน ๑, ๕, ๙  วันพุธ วันศุกร์ เดือน ๒, ๖, ๑๐ วันอังคาร เดือน ๓, ๗, ๑๑ และวันจันทร์ เดือน ๔, ๘, ๑๒
           เมื่อหาฤกษ์งามยามดีแล้ว จึงหาที่ตั้งศาลตามตำรากล่าวว่าต้องเป็นที่ที่สะอาด เงาบ้านไม่ควรทับศาล และเงาศาลไม่ควรทับบ้านเช่นกัน เพราะจะเป็นการหมิ่นพระภูมิ ถือเป็นอัปมงคล และห้ามหันหน้าเจว็ดตรงทางเข้าบ้าน เพราะถือว่าเป็นการเหยียบศีรษะพระภูมิท่าน บริเวณที่ดินที่จะใช้ตั้งศาล ควรมีความกว้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ๔ x ๔ ยกพื้นให้เหนือพื้นดินประมาณ ๑ คืบ ให้มีพื้นที่พอเดินรอบศาลได้ การตั้งศาลพระภูมิ ตามทิศที่ถูกต้อง ก็จะเป็นมงคลเช่นกัน ที่นิยมมีดังนี้
ศาลพระภูมิ ผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ราชตระกูล หันหน้าศาลไปทางทิศเหนือ
ศาลพระภูมินา ทุ่งลาน หันหน้าศาลไปทางทิศตะวันตก
ศาลพระภูมิบ้านคหบดี เศรษฐี พ่อค้า หันหน้าไปทางทิศใต้
ศาลพระภูมิวัด ปูชนียวัตถุ สาธารณสถาน หันหน้าศาลไปทางทิศตะวันออก 

สำหรับคนธรรมดาสามัญในตำราไม่ได้กล่าวไว้ แต่ผู้ทำพิธีนิยมหันหน้าศาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงใต้ 
ตัวศาลพระภูมิ นั้นไม่มีข้อกำหนด ว่าต้องเป็นสีใดหรือขนาดเท่าใด ส่วนใหญ่จะนิยมใช้สีประจำวันเกิดของเจ้าที่ ลักษณะและรูปแบบของศาลพระภูมิจะสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการ ของบ้านเรือนและ อาคารสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัยและความเจริญของบ้านเมือง อย่างเช่น บ้านในสมัยโบราณ สร้างเป็นเรือนไม้ทรงไทย ศาลพระภูมิ ก็จะมีรูปแบบเป็นทรงไทยไม้หลังน้อย ๆ เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันเราจึงเห็นรูปแบบของศาลพระภูมิ ที่ดูแปลกตาตามยุค บางแห่งสร้างขึ้นจากการย่อส่วนของสถานที่จริง เพื่อให้เข้ากับอาคารที่มีอยู่ ส่วน "เจว็ด" (บางทีอาจเรียกว่า "ตระเว็ด" หรือ "เตว็ด" ก็มี) หรือ ตัวองค์พระภูมิ ถือเสมือนตัวแทน "เทวดา" หรือ "เจ้าที่" นาม "พระชัยมงคล" เดิมจะเป็นภาพเทวดา บนแผ่นไม้รูปวงรี มีฐานตั้ง ปัจจุบันเจว็ดประจำศาล มักจะใช้เป็นรูปหล่อทองเหลือง ดูเปล่งปลั่งคล้ายทอง ในหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือถุงเงิน เชื่อว่าท่านจะคอยประทานเงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ เดิมหัตถ์ซ้ายของเทวดาจะถือสมุด (หนังสือ) ซึ่งคนในสมัยก่อนน่าจะตระหนักว่า ความรู้สำคัญกว่าเงินทอง เพราะหนังสือก่อให้เกิดความรู้สติปัญญา เพื่อใช้เลี้ยงชีพต่อไปภายภาคหน้า นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าบริวารรับใช้ของพระภูมิ ๑ คู่ เป็นตุ๊กตา มีทั้งปูนพลาสเตอร์ปั้นและพลาสติก       ตัวละครหุ่นปั้นชาย-หญิง ๑ คู่ ช้างปั้น ม้าปั้น ส่วนเครื่องประกอบของศาล ประกอบด้วย แจกันดอกไม้ ๑ คู่ กระถางธูป ๑ ใบ ผ้าเหลืองผูกเจว็ด ๑ ผืน ม่านประดับศาล ๔ ผืน ผ้าห้อยหน้าศาล ๑ ผืน เทียนเงินเทียนทองอย่างละ ๑ เล่ม ธูปเงินธูปทอง อย่างละ ๒ ดอก
           ในวันทำพิธีตั้งศาล เจ้าบ้านตระเตรียมเครื่องสักการะและเครื่องสังเวย พระภูมิชุดใหญ่ ตั้งบนโต๊ะ พิธีต่อจากนั้นผู้ทำพิธีหรือพราหมณ์ จะทำพิธีร่ายคาถาทำน้ำมนต์ ไหว้ครู อัญเชิญเทวดาให้มาสิงสถิตที่เจว็ด ก่อนนำเสาศาล มาฝังลงดินเพื่อให้ทำมาค้าขึ้น ก้าวหน้าร่ำรวย จะมีการนำน้ำมนต์ธรณีสาร  มารดบริเวณหลุม ช่วยไล่ภูติผีและสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป จึงฝังสิ่งมงคลทั้งหลายลงไปด้วย เช่น ทองคำ เงิน เหล็ก แก้วมณี เป็นต้น รวมทั้งแผ่นทองคำ ซึ่งจารดวงชะตาของเจ้าของบ้าน ดวงชะตาพระภูมิ และยันต์จัตตุโร เจิมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอม โรยทับตามด้วยดอกไม้ชื่อเป็นมงคล ปนกับเหรียญบาทเหรียญสตางค์ จากนั้นจึงโบกปูนปิดทับ ตั้งเสาศาลคร่อมรอยปูนนี้ ให้ความสูงของปลายเสาอยู่ระดับเพียงตา จึงยกระดับศาลพระภูมิขึ้นบนเสาไม่ให้ เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าเป็นสมัยก่อนจะนำเสาของศาลนั้นปักลงหลุมที่ทำพิธี หลังจากอัญเชิญเจว็ดมาสถิตที่ศาล โดยห้ามมิให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง พราหมณ์ผู้ทำพิธีจะมีการเจิมศาล และพรมน้ำอบที่ตัวศาล จากนั้นจึงจัด แจกันดอกไม้ กระถางธูป ข้ารับใช้พระภูมิ ละครรำ ช้างม้า เครื่องเซ่นบูชา พวงมาลัย ผ้าแพรผ้าสีผูกประดับที่เสา บูชาเครื่องเซ่น เป็นอันเสร็จพิธีตั้งศาล
           ส่วนการเซ่นสังเวยพระภูมิ หลังจากวันทำพิธีแล้ว นิยมทำกันในหลายโอกาสพร้อมกับงานมงคลอื่น ๆ เช่น งานขึ้นปีใหม่ งานทำบุญบ้าน งานแต่งงาน งานบวช บางคนอาจบูชาทุกวัน โดยการถวายนั้น ตามตำราพรหมชาติกล่าวว่า ต้องกล่าวชื่อพระภูมิ ซึ่งก็คือ "พระชัยมงคล" ให้ถูกต้อง ต้องสังเวยอาหารคาวหวาน ให้ถูกต้องในเวลาก่อนเที่ยงวัน และต้องออกชื่อคนใช้ของพระภูมิคนใดคนหนึ่ง (นายจันทิศ นายจันถี และจ่าสพพระเชิงเรือน) เป็นคนนำไปถวายบูชาพระภูมิอีกทอดหนึ่ง  เมื่อเสร็จจากการเซ่นบูชาแล้ว ควรลาเครื่องสังเวย หลังจากธูปหมดก้านแล้ว แบ่งอาหารคาวหวานเป็นที่เล็ก ๆ วางไว้โคนเสา เพื่อเซ่นแก่คนใช้ของพระภูมิและผีไม่มีญาติ จะว่าไปแล้ว ศาลพระภูมิ ถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ที่ควรค่าแก่ การอนุรักษ์ อย่างน้อยคนรุ่นหลังจะได้สัมผัสความคิดความรู้สึกของคนสมัยก่อนจากสิ่งนี้ ว่ามีความละเอียดอ่อน ในจิตใจต่างกับคนรุ่นหลังอย่างไร
           บนความเจริญทางวัตถุนิยมของมนุษย์ พระภูมิเจ้าที่ ยังคงเป็นสิ่งหนึ่ง ที่ยังคงอยู่คู่กับความเชื่อของคนไทยอีก ตราบนานไม่ได้จางหายไป เช่น เดียวกับกลิ่นธูปและควันเทียนที่ ขจรขจายไปตามสายลม ยังมีความเชื่ออีกหลายหลาก ที่เกิดจากความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น หรือความเร้นลับในบางสิ่ง ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยระบบเหตุผลหรือด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าบางครั้งความเชื่อในบางเรื่อง หรือบางสิ่ง บางอย่าง จะดูขัดกับความรู้สึกของเราบ้าง แต่อย่างน้อยวัตถุบางสิ่ง เช่น ศาลพระภูมิ หรือความเชื่อในบางสิ่ง ก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปตามครรลองธรรมอันดีงาม.

ขอขอบคุณที่มาจาก mordookrungsiam 

การตั้ง ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่



ศาลพระภูมิเป็นแท่นบูชาอย่างหนึ่ง สำหรับให้วิญญาณ พระภูมิเจ้าที่ หรือเทวดา ได้อยู่อาศัย พบได้ทั่วไปใน

ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีลักษณะเป็นบ้านหรือวิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนเสาเดี่ยวหรือปะรำทำจาก

ปูนหรือ ไม้เป็นต้น ตั้งไว้ในจุดที่เป็นมงคลตามความเชื่อ จุดที่เป็นมงคลนี้ถูกกำหนดโดยพราหมณ์ ซึ่งมักจะอยู่ริมรั้วหรือ

มุมหนึ่งนอกบ้าน และบ้านหนึ่งก็อาจมีศาลพระภูมิมากกว่าหนึ่งหลัง ศาลพระภูมิมีเสาเดียว


  ศาลเจ้าที่ ที่มามักจะเป็นวิญญาณที่ปกปักษ์รักษาบ้านเรือนต่าง ๆ เช่น บรรพบุรุษ เจ้าของที่ดิน เจ้าที่เจ้าทาง ลักษณะส่วน

ใหญ่จะเป็นเรือนไทยจำลองแบบบ้าน มี เสา 4 เสา หรือ 6 เสา

   การสักการะศาลพระภูมิ ศาลตา-ยาย เป็นการสักการะด้วยพวงมาลัย ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องสังเวย ให้พระ

ชัยมงคล 

ในศาลพระภูมิ กับวิญญาณที่สถิตอยู่ในศาลตา-ยาย ซึ่งมักจะทำก่อนพิธีกรรมหรือตามความเชื่อศรัทธาของบ้านนั้นๆ ศาล

พระภูมิและศาลเจ้าที่ เปรียบเหมือนบ้านที่อยู่อาศัย ไม่ควรปล่อยให้ชำรุดแตกหัก เก่านาน รวมทั้งตุ๊กตาตัวแทนพระ

ชัยมงคล ตา-ยาย คนรับใช้ นางรำ ช้างม้า ควรดูแลทำความสะอาดให้สวยงาม จัดหามาเปลี่ยนใหม่ บูชาด้วยธูปเทียน

ดอกไม้ พวงมาลัย และเครื่องสังเวยตามโอกาสที่ควร

พระคาถาขอขมาพระภูมิ

 

อิติสุขะโต  อะระหังพุทโธ นะโม  พุทธายะ  ปฐวีคงคา พระภูมิเทวา  ขะมามิหัง.


สวด นะโม 3 จบ แล้วสวดคาถาขอขมาพระภูมิ เพื่อขอทำความสะอาดศาลหรือเปลี่ยนสิ่งของที่ชำรุด แตกหัก

คาถาบูชาพระภูมิ

ยัสสามุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิปาณิโน ปะติฎฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยังวิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจ

ราทิสัมภะวา คะณะนาณะจะ มุตตานัง ปะริตตันตัม ภะณามะเหฯ

คาถาบูชาพระภูมิ(อีกบทหนึ่ง)

ยัสสานุภาวะโต  ยักขา  เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง  ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต  รัตตินทิวะ มะตันทิโต  สุขัง  สุปะติ  สุต

โต  จะ  ปาปัง  กิญจิ  นะ  ปัสสะติ เอวะมาทิ คุณูปเปตัง  ปะริตตันตัม ภะณามะเหฯ

ถ้าท่านมีศาลพระภูมิตั้งอยู่ประจำบ้านใช้คาถาบูชาทุกๆวัน จะเกิดสิริมงคลและบันดาลโชคลาภ หากบูชาให้ครบตาม

กำลังวันได้ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นไปอีก (หากมีเวลาน้อยสวดวันละ 1 จบ หรือครั้งละ 1 จบก็ได้) พร้อมดอกไม้หรือพวงมาลัย

สดและธูปเทียนเป็นประจำก็จะทำให้บังเกิดผลดี มีความสุขความเจริญตลอดไป

วันอาทิตย์              สวด 6 จบ
วันจันทร์               สวด 15 จบ
วันอังคาร              สวด 8 จบ
วันพุธ                    สวด 17 จบ
วันพฤหัสบดี        สวด 19 จบ
วันศุกร์                   สวด 21 จบ
วันเสาร์                  สวด 10 จบ

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ
นะโม เม ชะยะมังคะลัง ภูมิเทวานัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกัง วะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ .
การสักการบูชาพระภูมิ ไม่ควรใช้เครื่องสักการบูชาเดิมๆซ้ำกันตลอดไป ควรจัดหมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละเดือนตามกำหนด ถูกต้องตามประสงค์จะเสริมสิริมงคลเกิดลาภผลพ้นภัยพิบัติ มีแต่โชคลาภนานาประการ

เดือนอ้าย เดือนยี่
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นนาคราช ของคาวทั้งหลายให้นำมาใช้สักการบูชา จะมีเกียรติยศและชื่อเสียงเลื่องลือไกล

เดือน 3 เดือน 4
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นครุฑ ของสดของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เป็นสิ่งสังเวยสักการบูชา บันดาลโชคลาภ โทษภัยจะหนีไกลห่าง มีแต่ความสุขสำราญ

เดือน 5 เดือน 6
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นยักษ์ มีความดุร้าย ควรมีภักษาหารของสดของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เนื้อหมู เนื้อวัวหรืออื่นๆที่เป็นของสดของคาว ก็จะเป็นที่พอใจของท่านใช้ผ้าแดงปูศาล

เดือน 7 เดือน 8
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นพราหมณ์ร่างงาม งดเนื้อสัตว์และของคาวสารพัด ใช้ผ้าขาวปูศาล เครื่องสังเวยมังสวิรัติ

เดือน 9 เดือน 10
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นราชสีห์ ชอบของสดของคาว เครื่องสังเวยคล้ายเดือน 5 เดือน 6 ใช้ผ้าเหลืองปูศาล จะเกิดลาภผลเหลือประมาณตามความต้องการทุกอย่าง

เดือน 11 เดือน 12
   เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นช้าง ต้องมีหญ้าแพรก หญ้าปล้องอย่างละ 7 ใช้ผ้าดำปูศาล จะเกิดลาภผลสวัสดี ห้ามของคาว
(ดูเดือนจากปฏิทินของแต่ละปี)

คาถาลาเครื่องสังเวยพระภูมิ
อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะ
วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตุเปกขายุทธายะโว ทิสสา วินะติ อะเสสะโต.

คาถาขอพรพระภูมิ
สิโรเม ขอเดชะพระภูมิเทวารักษาที่รับพระพรจากเจ้ากรุงพาลีมา ให้วัฒนาถาวรสิ่งสุข แด่(ระบุชื่อผู้ขอ) ให้มั่งมีเงินทองและทรัพย์พัสดุข้าวของเนื่องนอง ทั้งพร้อมพงศ์เผ่าบริวาร บุตรหลานเหลนลื้อบันลือ สาธุชนซร้องสรรเสริญ โสตถิ ชัยยะ ภะวันตุเม

ศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่ที่ถอนแล้ว หรือที่ชำรุดแตกหัก เก่านาน รวมทั้งตุ๊กตาตัวแทนพระชัยมงคล ตา-ยาย คนรับใช้ นางรำ ช้างม้า มักจะนำไปไว้ที่วัด หรือทิ้งไว้ตามข้างทางแยก

การบูชาศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่

การไหว้ศาลพระภูมิ.......ใช้ธูป 9 ดอก เทียน ดอกไม้ พวงมาลัย เครื่องสังเวย
การไหว้ศาลเจ้าที่............ใช้ธูป 7 ดอก เทียน ดอกไม้ พวงมาลัย เครื่องเซ่นสังเวยอย่างน้อยปีละครั้ง
หมายเหตุ การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล ควรศึกษาเพิ่ม หรือต้องปรึกษาผู้รู้ พราหมณ์ ผู้ประกอบพิธี เพื่อให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข มีโชคลาภเงินทอง เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานอาชีพ
เจตนา              : หากคิดตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ หรือมีแล้ว...การดูแลและสักการะด้วยธูปเทียน ดอกไม้ พวงมาลัย
                          และเครื่องสังเวย อีกมุมมองหนึ่งบนความเชื่อและศรัทธาที่น่านำไปใช้
ขอบคุณที่มา     จากวิกิพีเดีย และรวมพิธีตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่(ส.มหานาค)
คำเตือนตนเอง  สัพเพเหระ เพื่อความสุขของชีวิตผ่านภาพและตัวอักษรกับ OK
ขอขอบคุณ          :   ตะวันลับขอบฟ้า