วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แว่วเสียงธรรม - ทำบุญอย่างไรถึงจะได้เจอคนจริงใจ โดย ดังตฤณ




ถ้าคิดว่าโลกนี้เป็นโรงละครที่เรากำลังรับบทโต้ตอบกับตัวละครอื่นๆ บางคนก็เหมือนโดนผู้กำกับแกล้งให้รับบทหนัก ต้องร้องไห้ช้ำใจเพราะถูกหลอกอยู่บ่อยๆ ยิ่งนึกว่าจริงใจด้วย ก็ยิ่งต้องพบความจริงในภายหลังว่าที่แท้เขากะเล่นไม่ซื่อตั้งแต่ต้น จะในเกมความรักหรือเกมธุรกิจก็ตาม 

ก่อนอื่นขอให้มองว่าพื้นฐานของมนุษย์เป็นไปในทำนองเดียวกันคือ ‘อยากเอาเข้าตัว’ แต่ละคนเริ่มคิดออกมาจากจุดนี้ ความแตกต่างขึ้นอยู่กับใครจะถูกอบรมให้มีมโนธรรมต้านทานความเห็นแก่ตัวมากน้อยเพียงใด 

ถ้าคุณมองว่าการมี ‘ใจจริง’ หมายถึงการซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียวไม่แปรผันเป็นอื่น ก็ต้องเห็นให้ซึ้งเสียก่อนว่าใจจริงสร้างขึ้นด้วยอะไร หรือใจจริงมาจากไหน อย่ามองด้วยความคาดหวังเผินๆว่าโลกนี้มีใครคนหนึ่งถือกำเนิดเกิดมาพร้อมกับมีใจจริงติดตั้งไว้ในตัวสำเร็จรูป ทุกคนต้องผ่านสัญชาตญาณเอาเข้าตัวมาก่อน เริ่มตั้งแต่ร้องอ้อแอ้ขอข้าวแม่กินเป็นต้นมา 

พอโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ละคนพบสิ่งน่าชอบน่าชังมากมาย นอกจากนั้นยังเจอสอนให้เอาแต่ได้บ้าง เจอสอนให้เสียสละบ้าง ในที่สุดทุกคนจะไปถึงจุดของการตัดสินใจว่าจะมีชีวิตแบบไหน คิดเอาหรือคิดให้เป็นหลัก 

คนที่ตัดสินใจว่าจะคิดเอาเป็นหลักนั้น นึกถึงใจคนอื่นมากกว่าใจตัวเองไม่เป็นหรอกครับ พอเขาได้สิ่งที่ต้องการ เขาก็พร้อมจะสลัดเราทิ้ง ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรักหรือหุ้นส่วนธุรกิจของเขา 

คราวนี้ลองคิดดูว่าโลกกำลังเต็มไปด้วยคนคิดเอาหรือคนคิดให้มากกว่ากัน? ถ้าพูดกันแบบไม่อ้อมค้อมก็คือโลกนี้เต็มไปด้วยคนคิดเอา จะมีสักกี่คนที่คิดให้ ดังนั้นคุณจึงกำลังแสวงหาสิ่งที่หาได้ยากประมาณเข็มในมหาสมุทร 

วิธีที่จะเจอคนจริงใจกับเรา ไม่ว่าในด้านความรักหรือธุรกิจ จึงต้องไม่ใช่ด้วยความบังเอิญ ทำนองเดียวกับที่ไม่มีใครงมเข็มในมหาสมุทรเจอโดยปราศจากเครื่องช่วย ซึ่งในที่นี้ก็คือกรรมนั่นแหละครับ คุณต้องเข้าใจหลักกรรมข้อหนึ่ง คือเมื่อให้สิ่งใดย่อมไม่สูญเปล่า ต้องมีการสะท้อนตอบเป็นการได้รับสิ่งนั้นคืนมาเสมอ ฉะนั้นตอนนี้อยู่ในช่วงรับความไม่จริงใจซึ่งเราเคยทำไว้กับใครมาก่อนก็ช่างเถอะ เอาเป็นว่าขอให้สร้างเหตุ สร้างเครื่องช่วยให้เราไปพบกับคนจริงใจในกาลข้างหน้า คือพยายามจริงใจกับคนอื่นโดยไม่ย่อท้อก็แล้วกัน 

ถ้าคุณซื่อกับคนอื่น ไม่คิดหลอกคนอื่นได้ทั้งชาติ ชีวิตนี้คุณจะมีใจที่สะอาดของตัวเองเป็นเพื่อนแท้ และภพต่อไปคุณจะไม่ถูกกรรมเหวี่ยงไปอยู่ในหมู่คนอสัตย์ 

อีกประการหนึ่ง ถ้าคุณต้องการหาเข็มในมหาสมุทรให้เจอก่อนตาย คุณไม่ควรรู้แค่ว่าเข็มมันอยู่ในมหาสมุทร คุณไม่ควรโดดตุ๋มลงไปเฉยๆตรงไหนก็ได้ ก่อนอื่นคุณควรสืบให้พอรู้เป็นเค้าเป็นแนว ว่าเข็มน่าจะหล่นอยู่ในย่านใด แล้วค่อยใช้ความจริงใจดำดิ่งลงไปค้นหา จึงจะพอมีสิทธิ์เจอกันได้ 

ขอให้พิจารณาดู ปัจจุบันเรามีอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์กับผู้คนมากหน้าหลายตา พอจะหาคู่ หาความรัก หาความจริงใจ เราก็มักตระเวนไปตามเว็บบอร์ดหรือห้องสนทนาที่มีชื่อตรงตามเกณฑ์นั้นๆ เช่นเว็บหาความรัก หรือห้องหาคนจริงใจ ตรองดูเถิดว่าโอกาสจะได้เจอนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เสือหิวย่อมรอตะครุบกวางตามแหล่งน้ำฉันใด ชายเจ้าเล่ห์ย่อมดักรอสาวหน้าซื่อตามแหล่งถามหารักฉันนั้น 
บางทีที่เราไม่เจอสิ่งที่ต้องการก็เพราะเราแสวงหาผิดที่ เราคาดหวังว่าคงเจอคนจริงใจตามบ้านใกล้เรือนเคียง ตามอาคารสำนักงาน หรือตามสถานบันเทิง นั่นก็อาจเป็นไปได้ แต่ยากหน่อย เพราะตามความน่าจะเป็นเรามักเจอ ‘คนธรรมดา’ ที่คิดเอาเข้าตัวกันโดยมาก ทำไมไม่ลองมองว่าคนจริงใจควรอยู่ตามงานบุญ ตามเว็บธรรมะ หรือห้องสนทนาเรื่องศีลเรื่องธรรม 


ไม่ต้องกลัวว่าตามงานบุญหรือตามแหล่งกิจกรรมธรรมะทั้งหลายจะชวนคุณคุยเรื่องหลุดพ้นลูกเดียว และในอีกทางหนึ่ง ก็อย่าหวังว่าจะพบแต่คนดีๆในงานบุญหรือแหล่งกิจกรรมธรรมะ แต่อย่างน้อยให้คิดเสียว่าโอกาสจะเจอคนดีๆควรมีมากกว่าแหล่งกิจกรรมเพื่อความสนุกฉาบฉวยทั้งหลาย 

ถ้าได้ยินคำว่า ‘ธรรมะ’ แล้วร้องกับตัวเองว่า ‘ยี้’ หรือ ‘น่าเบื่อจัง’ ก็ขอให้ทราบว่าคุณยังไม่ได้ต้องการความจริงใจเป็นเรื่องเป็นราว เพราะคุณจะเจอคนจริงใจได้ในหมู่คนมีธรรมะเท่านั้น 

และเมื่อใดคลุกคลีกับธรรมะมากพอ คุณจะพบว่าธรรมะไม่ได้มีแต่ภาพกักบริเวณตนเองเพื่อหลุดพ้นจากกิเลส คุณจะเห็นโลกในอีกมิติหนึ่ง คือไม่ใช่เอาแต่มองหารูปเสียงน่าชอบใจภายนอก แต่จะเริ่มแสวงหาความรู้สึกแสนดีน่าครอบครองอันเป็นภายใน 

คุณจะตระหนักว่าความรู้สึกแสนดีไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ต้องมีวิธีอะไรอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างทำให้มันเกิดขึ้น เช่นกำหนดกรอบไว้ว่าจะไม่ปล่อยให้ความโลภและความโกรธทะยานแรงขึ้นถึงระดับที่จะกระทำการอันเป็นความเดือดร้อนของคนอื่น เมื่อรู้สึกตัวเองว่าเป็นความปลอดภัยให้คนอื่นได้ คุณก็จะรู้สึกถึงความไม่เดือดเนื้อร้อนใจของตนเองด้วย 

จากนั้นเขยิบขึ้นไปอีก เช่นรู้จักสละสิ่งที่คุณมีให้คนอื่นทั้งที่ไม่จำเป็นต้องให้ คุณจะลืมคำว่า ‘ให้ทำไมให้โง่’ แต่จะพบคำใหม่ในหัวตัวเองคือ ‘ทำไมมัวโง่ไม่ให้มาเสียตั้งนาน’ คุณจะรู้ว่าการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นเป็นสุข และคุณก็อาจจะรู้ว่าในที่สุดแล้ว การเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนั่นเอง จะพาคุณไปรู้จักกับคนประเภทเดียวกัน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ในวันใดวันหนึ่ง 

สรุปคือถ้าแสวงหาคนจริงใจอยู่ และยังไม่เลิกย่อท้อ ก็ขอให้ปลูกฝังความซื่อสัตย์จริงใจให้เกิดขึ้นในตนเองก่อน และพยายามรักษามันไว้จนลมหายใจสุดท้าย พอเชื่อได้ว่าอย่างน้อยมีคุณคนหนึ่งในโลกที่ซื่อสัตย์และจริงใจ จะได้ไม่ต้องไปแสวงหาคำตอบจากที่ไหนว่าคนซื่อสัตย์และจริงใจมีอยู่แต่ในนิทานหรือมีตัวตนอยู่ในโลกความจริงนี้ด้วย 

นอกจากนั้นถ้าจะแสวงหา ก็ควรแสวงหาในที่ที่มี อย่ามัวเสียเวลาไปแสวงหาในที่ที่ไม่มี ผมให้คำรับรองไม่ได้ว่าคุณจะเจอเมื่อไหร่ แต่เชื่อมั่นว่าวันหนึ่งคุณจะได้เจอครับ ด้วย ‘กรรม’ และ ‘ความเข้าใจ’ ที่ถูกต้องนั่นเอง 



โดย ดังตฤณ 

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การนั่งสมาธิ วิปัสนา / ข้อแนะนำในการปฏิบัติฝึกสมาธิ / แนะนำศูนย์ฝึกสมาธิในประเทศไทย




การนั่งสมาธิ วิปัสนา
การฝึกสมาธิเป็นวิถีทางหนึ่งหรือเป็นหนทางที่นำมาช่วยในการใช้ชีวิตในภาวะที่มีการแข่งขันของโลกปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียด ความหดหู่ ภาวะซึมเศร้าและความจริงที่ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด โรคภัยไข้เจ็บสมัยนี้ที่ใช้เวลาเป็นปีในการหาวิธีรักษา คนจำนวนมากจึงหันมาฝึกสมาธิที่เป็นวิถีทางธรรม ซึ่งหาไม่ได้จากวิถีทางโลก
การฝึกสมาธิ มีหลายแบบ ตามการปฏิบัติของแต่ละศาสนา แม้แต่ผู้ที่ไม่เคร่งในศาสนา ก็ยังถือปฏิบัติเพื่อต้องการฝึกจิตให้มีสมาธิ ช่วยให้การทำงานได้ดีขึ้น ในพุทธศาสนาการฝึกสมาธิถือเป็น มรรค 8 หรือทางสายกลาง เป็นหนทางไปสู่การตรัสรู้ เป็นสิ่งเดียวที่นำไปสู่ ความจริง 4 ประการ คือ อริยสัจ 4 ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า: ทุกข์ สิ่งที่ทำเกิดทุกข์ และหนทางแห่งการดับทุกข์ แม้ว่าคุณจะไม่สนใจในพระพุทธศาสนา การฝึกสมาธิเป็นการฝึกจิต มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดสมาธิและเมื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดสันติภาพและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
การนั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนา
การนั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนา
การฝึกสมาธิ หรือการเจริญกรรมฐานมี 2 แบบ คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
1. สมถภาวนา หรือ สมถกรรมฐาน คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ หรือการทำจิตใจให้เป็นสมาธิความมั่นคงนั่นเอง
2. วิปัสสนาภาวนา หรือ วิปัสสนากรรมฐาน คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในรูปนาม ขันธ์ 5 ว่าเป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ ทนได้ยาก (ทุกขัง) เป็นสภาวะที่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขา บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา) เรียกว่า วิปัสสนา

ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทั้ง 2 แบบนี้ ถูกแยกออกจากกัน ซึ่งคุณจะไม่สามารถเกิดสติได้เลย จนกว่าคุณจะมีการฝึกสมาธิได้ในระดับหนึ่งแล้ว

วีธีการเจริญสมถกรรมฐานมีมากมาย บางวิธีเก่าแก่กว่าพุทธศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นมา หลายๆ วิธีถูกพัฒนาหลังช่วงเวลาของพระพุทธเจ้าในวิธีต่างๆ เหล่านั้นที่ถือปฏิบัติมากที่สุดคือ การฝึกอานาปานสติ หรือ สติที่กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งได้รับการสืบทอด โดย พุทธทาส ภิกขุ (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2536) ผู้ก่อตั้งวัดป่าสวน สวนโมกขพลาราม สวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของ อานาปานสติ 16 ประการ ซึ่งถูกเขียนลงด้วยภาษาบาลี
การทำสมาธิได้ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้วิธีการปฏิบัติ โดยหายใจเข้า ภาวนาว่า "พุทธ" และที่หายใจออก ภาวนาว่า "โธ" คำที่ภาวนาอาจจะแตกต่างกันได้ แต่จุดประสงค์ของการภาวนา มุ่งในใจความสำคัญเพื่อฝึกจิตเหมือนกัน ยังมีเทคนิคอื่น ที่มีการสอนอย่างกว้างขวาง เรียกว่า การฝึกกษิณ โดยเพ่งกษิณ ไปที่วัตถุนอกตัวเอง เช่น เปลวไฟของเทียนหรือลูกแก้วคริสตัล
สติ คือ กุญแจสำคัญในวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการฝึกควบคุมตัวเองรู้การกระทำของร่างกาย การเพิ่มขึ้นและลดลงของหน้าอกของคุณ เมื่อคุณหายใจเข้าและหายใจออก การเคลื่อนไหวของเท้าและขาของคุณเมื่อคุณเดิน รวมทั้งความรู้สึกของคุณ ความคิดของคุณ และสุดท้าย จิตรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ว่าคุณจะเดิน นั่ง และนอนสมาธิ อยู่ แต่ไม่กี่วิธีของวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อไม่เคยผ่านการฝึกจิต สติอาจจะแตก ได้จากการได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยจาก เสียง, กลิ่น, ความร้อน ความหิว ความเจ็บปวด ฯลฯ กุญแจสำคัญคือการตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้พำนักอยู่ในขณะนั้น เป็นขั้นเริ่มต้นที่สามารถหยั่งรู้ ขจัดสิ่งล่อใจ และเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมวิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะที่สงบ และถูกแยกออกจากการกระทำ
สถานที่สอนการฝึกสมาธิ ที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย ที่คุณสามารถเข้าไปฝึกสมาธิได้ สถานที่ฝึกสมาธิในช่วงบ่ายหรือเย็น ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง มีศูนย์การฝึกสมาธิอยู่ 2 ที่ สำหรับคนไทย และนักท่องเที่ยว หรือคุณอาจเข้าร่วมวิปัสสนาในสถานที่ปฏิบัติธรรมเฉพาะ ซึ่งจะใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์หรือช่วงวันหยุดยาว ศูนย์ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัด เป็นการฝึกที่ต่อเนื่องถึงสี่สัปดาห์ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คุณต้องปฏิบัติตามศีล 5 ซึ่งประกอบด้วย การเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ เว้นจากการกล่าวเท็จ และเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สิ่งเหล่านั้นซึ่งทำให้ชีวิตขุ่นมัว สถานที่ปฏิบัติธรรมบางที่อาจต้องให้คุณรักษาศิล 8 ซึ่งนอกเพิ่มเติมจากศิล 5 คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่) เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อมและเว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี



ข้อแนะนำในการปฏิบัติฝึกสมาธิ
บูชาและน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย เพื่อส่งเสริมเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเกิดความเลื่อมใสศรัทธาบารมีพระ รัตนตรัยที่ภาวนาเป็นการสนับสนุนเสริมพื้นฐานของจิตไม่ให้หดหู่ เกิดความหนักแน่น กล้าหาญ เข้มแข็ง สงบ พร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกปฏิบัติจิตต่อไปข้อแนะนำในการปฏิบัติฝึกสมาธิ
ข้อแนะนำในการปฏิบัติฝึกสมาธิ

หาเครื่องแต่งตัวและสถานที่ที่เหมาะสม ถ้าเป็นไปได้ควรหาเครื่องแต่งกายสีขาวที่ไม่คับแคบไว้ใส่ในระหว่างปฏิบัติจิต เพื่อให้หายใจสะดวก เลือดลมเดินหมุนเวียนได้คล่องและหาสถานที่ที่เหมาะสมแก่การฝึกจิต คือเรียบง่าย เงียบ อากาศถ่ายเทสะดวก ร่มเย็นพอสมควร สองประการนี้ เป็นการช่วยสนับสนุน ให้จิตใจสะอาดสบายตา สงบได้สมาธิเร็ว
นอนให้เพียงพอ ร่างกายต้องได้รับการพักผ่อนพอสมควร แต่ไม่นอนมากเกินไป เมื่อตื่นแล้ว ไม่ควรนอนต่ออีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งและไม่ควรนอนกลางวัน เพราะการนอนมากจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มง่วงเหงาหาวนอนอยู่ตลอดไม่มีเรี่ยวแรง
ควรที่จะมีเวลารับประทานอาหารที่แน่นอนและรับประทานอาหารพอสมควรและควรงดเว้นสิ่งเสพติดและมึนเมา ตั้งแต่ยาเสพติดทั้งหลายจนเหล้า บุหรี่หมากพลู ยานัดถุ์ ตลอดจนชา กาแฟ
วิธีการถอนออกจากการปฏิบัติจิตทุกครั้งให้ค่อยๆ คลายออกจากสมาธิ ด้วยการหายใจตามปรกติช้า ๆ 10 ครั้ง แล้วถอนหายใจลึกๆ ช้า ๆ ตามแบบการฝึกลมปราณ อีก 10 ครั้ง ให้โล่งอกและตื่นจากภวังค์แล้วค่อยๆ ขยับร่างกายให้เคลื่อนไหวเล็กน้อย ถอนฝ่ามือที่ซ้อนกันอยู่นั้นออกแล้วมาวางบนหัวเข่า ลืมตาขึ้นเล็กน้อย มองลาดต่ำใกล้ตัวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึง เบาๆ ช้าๆ ที่ตาสักครู่แล้วจึงลืมตาขึ้นเต็มที่ และถูฝ่ามืออีกครั้งจนร้อนแล้วนวดคลึงตั้งแต่ขมับ ท้ายทอยลงมาต้นคอ ไหล่ แขน หน้าอก หน้าท้อง เอว หลัง ต้นขา แล้วจึงค่อยๆ ยืดขาออกกระดิกปลายเท้าให้ยืดออกพักหนึ่งจนรู้สึกหายจากอาการชาแข็งกระด้าง ปรับเช่นนี้ จนจิตใจและร่างกายคืนสู่สภาพปรกติ รับรู้สิ่งแวดล้อมเต็มที่แล้วจึงลุกขึ้นจากที่นั่ง และเดินจงกรมหลังจากฝึกปฏิบัติสมาธิแล้วทุกครั้ง ขอให้ท่านเดินจงกรมอย่างน้อย 15 นาที เพื่อเป็นการบริหารร่างกายให้เลือดลมที่คั่ง ค้างตาม เอ็นตามข้อเดินสะดวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งขาจะได้ไม่เสียสุขภาพด้วย
ศูนย์ฝึกสมาธิในประเทศไทย
ภาคกลาง
ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
 : เลขที่ 3 ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 
 : 0 2223 6878
เป็นสำหนักวิปัสนากรรมฐานแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ครั้งเมื่อดำรงสมณะศักดิ์พระภิมธรรมเจ้าอาวาส ท่านส่งพระภิกษุไปดูงานศาสนาศึกษาวิปัสนากรรมฐานยังต่างประเทศและต่อมาได้แต่งตั้งวิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ให้เป็นอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาเป็นรูปแรกหลังจากจบการศักษาและวิปัสนากรรมฐานจาก สำนักศาสนายิกษาเมืองย่างกุ้งประเทศพม่าโดยปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" แรกเริ่มที่พระอุโบสถวัดพระมหาตุและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจนต้องสร้างห้องปฏิบัติธรรมรอบๆ พระอุโบสถ ท่านอบรมและเผยแพร่วิปัสนากรรมฐานมาเป็นระยะเวลายาวนานมีผู้เคารถศรัทธาเป็นอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศทุกระดับชั้นทุกฐานะอาชีพ ปัจจุบันสถานที่ปฏิบัติ ตั้อยู่ที่คณะ 5 สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เช้า กลางวัน แล เย็น

ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ POP บ้านสวนตะวันธรรม
 : บ้าน POP HOUSE ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
 : 08 7495 1616
 : www.pophouse.info
ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ POP บ้านสวนตะวันธรรม เป็นสถานที่ที่เปิดให้มีการปฏิบัติธรรม 3-7 วันในกรุงเทพฯ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาที่พักกาย สงบใจ เชิญมาปฏิบัติธรรม 3-7 วัน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติบ้านสวนตะวันธรรม ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีการอบรมในหลักสูตรมาตรฐานผ่านการทดสอบแล้วจนมั่นใจ สถานที่ปฏิบัติธรรมนี้จะก่อให้เกิดความสบายกายสบายใจและเข้าถึงความสุขที่แท้จริงภายในมีการสอนสมาธิ สอนวิธีการปฏิบัติธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้มากด้วยประสบการณ์ในการสอนสมาธิ ด้วยระยะเวลาที่จัดอย่างเหมาะสมและลงตัวที่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะจิต ใจให้ก้าวไปสู่ความสงบภายใน หาสิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิตท่านสักครั้งหนึ่ง แล้วจะรู้ว่าการปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
 : เลขที่ 4 ซอยเพชรเกษม 54 แยก 6 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
 : 0 2455 2525
 : www.ybat.org/eng/
จดทะเบียนเป็นยุวพุทธิกสมาคมแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2493 มีศูนย์วิปัสสนากรรมฐานเปิดให้ผู้ประชาชนทั่วไปเข้าอบรม ปฏิบัติธรรมทุกเดือนตลอดปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นเวลาร่วม 20 ปี ยุวพุทธ มีหลักสูตรอบรมปฏิบัติธรรมหลากหลาย ทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 วัน , หลักสูตร 2 วัน , หลักสูตร 3 วัน ,หลักสูตร 8 วัน , หลักสูตร 15 วัน จนถึงหลักสูตร 1 เดือน และ หลักสูตร 3 เดือน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการต่างๆ ตาม ที่เวลาของตนจะอำนวย ถือเป็นกิจกรรมหลักและสำคัญที่สุดของสมาคม โดยจัดอบรมขึ้นเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวทางที่ได้ผลดีและเป็นที่นิยมทั่วไปเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตได้แก่ หลักสูตรพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข โดยคุณแม่สิริ กรินชัย หลักสูตรเจริญสติฯ, หลักสูตรวิปัสสนาสำหรับเยาวชนอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หลักสูตรวิปัสสนาสายพุทโธและหลักสูตรอื่นๆ โดยพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ โดยยึดหลักมหาสติปัฏฐาน 4 หลักสูตรวิปัสนากรรมฐานสำหรับพระสงฆ์ เป็นอีกความสำคัญและจัดอบรมให้ความรู้แก่พระสงฆ์เป็นประจำทุกปี

ภาคตะวันออก
วัดภัททันตะอาสภาราม และสำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี 
 : หมู่ที่ 1 บ้านหนองปรือ ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
 : 0 3829 2361
จำนวนที่นั่ง: 30 คน (แนะนำให้จองล่วงหน้าก่อน)
ตามแนวทางปฏิบัติ: ท่านมหาสีสะยาดอ , พระอาจารย์ภัททันตะอาสภมหาเถระ, ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ), คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย 
เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก

ภาคเหนือ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
 : หมู่ 5 ถนนคันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
 : 0 5327 8620 ต่อ 0 
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "สำนัก ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่", "ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ค่ายธรรมภาวนา)" และเป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติภาคเหนือ ได้รับการสอนสมาธิสติมากมายสำหรับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านมากกว่า 20 ปี มีพระสงฆ์ที่พูดภาษาอังกฤษ แม่ชีและอาสาสมัคร ทีมงานอำนวยความสะดวก ศูนย์บริการหลักสูตรพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง 26 วัน หลังจากจบหลักสูตรคุณจะสามารถเข้าร่วม 10 วัน ภายในศูนย์ปฏิบัติธรรมนี้ วัดร่ำเปิงเป็นแหล่งวิปัสสนากรรมฐานทางภาคเหนือที่ทำการอบรมพระกรรมฐานในแนวสติปัฎฐาน 4 ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างประเทศ สนใจมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กันอย่างมากมาย นอกจากนี้วัดนี้เป็นแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา อีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก

สถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ เชียงใหม่ (มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม)
 : วัดสวนดอก อำเภอสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
 : 0 5321 1424
 : www.meditationthai.org
เริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และได้เผยแพร่ออกไปทั้งหมด 6 ทวีปได้แก่ แอฟริกา เอเชีย ยุโรป อเมริการเหนือ โอเชียเนียและอเมริการใต้ ศูนย์ปฎิบัติธรรมแห่งนี้ล้อมรอบด้วยภูเขาและภูเขาที่งดงาม อยู่ที่ระดับความสูง 1,120 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีหมู่บ้านปฏิบัติธรรม ที่มีความงดงาม มีอากาศเย็นสบายและสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องพักทั้งหมดออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้และฝึกทำสมาธิท่ามกลางการสัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติที่จะล้อมรอบคุณ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการทำสมาธิในแบบธรรมกายซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเทคนิคที่รู้จักกันว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก อบรมในระดับขั้นสูงโดยพระสงฆ์ระดับพระอาจารย์ นอกจากจะได้รับความรู้เรื่องการฝึกสมาธิในแบบ Dhammakaya Meditation แล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้รับความรู้เรื่องวัฒนธรรมชาวพุทธได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา อีกทั้งได้ศึกษาประวัติวิชาธรรมกาย ประวัติวัดพระธรรมกายและประวัติมหาปูชนียาจารย์ ซึ่งทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นในวิธีปฏิบัติธรรมและอยากจะฝึกฝนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อีกทั้งยังได้มีโอกาสนำความรู้เรื่องสมาธินี้ไปเผยแพร่ยังประเทศของตนด้วย

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
 : หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 
 : 0 5382 6869
เจ้าอาวาสเป็นพระผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติของวัดร่ำเปิง มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เข้ามาฝึกสมาธิต้องแสดงบัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทางที่ถูกต้องและแจ้งให้ทางวัดรู้ถึงความประสงค์ จึงจะสามารถเลือกว่าจะปฏิบัติตามศิล 5 หรือศีล 8 ทางวัดมีบริการอาหารและหอพัก หอพักส่วนใหญ่มีห้องน้ำในตัว เสื้อผ้าที่เหมาะสมสามารถหาซื้อได้ที่ร้านติดกับวัด ผู้ต้องการเข้าปฎิบัติ ต้องโทรมาจองห้องก่อนล่วงหน้า 1-2 เดือน ก่อนการปฏิบัติในช่วงวันหยุดและเทศกาลสำคัญและเทศกาลกินเจ (เนื่องจากห้องปฏิบัติอาจจะเต็ม)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
วัดป่านานาชาติ
 : บ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 
 : www.watpahnanachat.org
จัดเป็นวัดสาขาอันดับที่ 19 ของวัดหนองป่าพง เดิมชื่อว่า วัดอเมริกาวาส และมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่านานาชาติ ภายหลังโดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Wat Pah Nanachat (Bung Wai Forest Monastery) ซึ่งเป็นวัดที่มีพระภิกษุชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์และญี่ปุ่น เป็นต้น มาจำพรรษาอยู่มิได้ขาด ปัจจุบันนี้ วัดป่านานาชาติ ได้มีพระภิกษุสามเณรชาวต่างชาติมาจำพรรษาจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมัฎฐาน พระภิกษุในวัดเกือบทุกรูป จะสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

ภาคใต้
สวนโมกขพลาราม
 : อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
 : 0 7743 1596-7, 0 7743 1661-2 
 : www.suanmokkh.org
เริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 โดยปลายยุคของ พุทธทาส ภิกขุ ผู้นำของการทำสมาธิ และนักพุทธวิชาการ สวนโมกได้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง 10 วัน ตลอดหลักสูตร ระหว่างนี้ผู้เข้าอบรมจะสำรวจความสำคัญในเรื่อง: ธรรมะและสมาธิ สอนการทำสมาธิกำหนดสติกับลมหายใจ (อานาปานสติ) เป็นระบบที่ถือปฏิบัติมากที่สุดของพระพุทธเจ้า การบรรยายธรรมะจะมีขึ้นทุกวัน และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้กับผู้อื่น ซึ่งพูดง่ายๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า "Friends" ในการแนะแนวการปฏิบัติสมาธิและด้านอื่นๆ ของหลักสูตร



ขอขอบคุณ สวัสดีดอทคอม / ภาพประกอบจาก โรงเรียนธัญวิทย์ มา ณ ที่นี่ด้วยครับ